instil-hiv

ผู้มีเชื้อ HIV ฉีดวัคซีน COVID-19 ได้หรือไม่?

ผู้มีเชื้อ HIV ฉีดวัคซีน COVID-19 ได้หรือไม่?

ผู้มีเชื้อ HIV ฉีดวัคซีน COVID-19 ได้หรือไม่? ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้ตั้งคำถามว่า คนที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ภายในร่างกายสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่

 

ต้องเข้าใจก่อนว่าเชื้อเอชไอวี เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือไม่สวมใส่ถุงยางอนามัย และเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง 

หากไม่ทำการรักษาเชื้ออาจพัฒนา ไปสู่ภาวะที่เรียกว่า โรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย ของการติดเชื้อเอชไอวี และเป็นระยะที่ภูมิคุ้มกัน ได้ถูกทำลายลงอย่างหนัก ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถมีโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย 

เพราะเชื้อเอชไอวีจะเข้าไป ทำลายเม็ดเลือดขาว หรือ ที่เรียกว่า CD4 จนทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง และมีโอกาสเกิด โรคฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค ปวดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น หากไม่ทำการรักษา ก็อาจส่งผลให้เสียชีวิตลงในที่สุด

 

            นอกจากนี้ ผู้ป่วยเอชไอวี หากติดเชื้อโควิด-19 จะยิ่งทำให้มีโอกาสเสียชีวิตสูง เนื่องจากว่าร่างกายอ่อนแอจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีอยู่แล้ว

 

            ผู้มีเชื้อ HIV ฉีดวัคซีน COVID-19 ได้ หรือไม่ ?  ปัจจุบันผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่ ที่เข้าระบบ จะต้องได้รับการรักษาด้วยการทานยาต้านไวรัส ตามที่แพทย์ สั่งอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว และเป็นผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกัน ที่แข็งแรง ไม่มีอาการป่วย หรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ แทรกซ้อนเพิ่มเติม 

ซึ่งสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน เชื้อโควิด-19 ได้ แต่ผู้ป่วยจะต้องมีภูมิคุ้มกัน ที่แข็งแรง และมีระดับ CD4 ไม่ต่ำกว่า 200 cells ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร  เพราะในบางครั้ง ผู้ป่วยเอชไอวี ส่วนน้อยจะมีค่าของ CD4 ที่ต่ำอย่างถาวร และอาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันนั้น ลดลงด้วย

 

แต่หากผู้ป่วย ที่ยังรับยาต้านไวรัส อย่างสม่ำเสมอ และไม่มีภาวการณ์ติดเชื้อฉวยโอกาสก็ สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ได้ และต้องอยู่ในความดูแล ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 

แต่หลังจากที่ได้ฉีดวัคซีนแล้ว แนะนำให้ผู้ป่วยคอยสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ หากมีอาการไม่ พึงประสงค์เกิดขึ้น อาทิเช่น มีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ หรืออาการปวด บวม บริเวณที่ฉีด ต้องปฏิบัติตน ตามมาตรการป้องกัน การติดเชื้อ และรับยาต้านไวรัสเอชไอวีตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

 

นอกจากนี้ หากผู้ที่รู้ตัวว่า มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี ควรเข้ารับการตรวจ ให้แน่ใจว่า ร่างกายเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ จริง ๆ หรือไม่ เพราะการเข้ารับ การตรวจเป็นเพียง วิธีเดียว จะช่วยให้คุณรู้ ทราบถึง สถานะร่างกายตนเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้ ก็มีวิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวี หลายวิธี 

โดยสามารถเดินทางไปตรวจได้ตามโรงพยาบาลรัฐ เพราะสามารถ ตรวจได้ฟรี ถึงปีละ 2 ครั้งสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้น หรือ สามารถเข้ารับการตาวจ  ได้ที่โรงพยาบาลเอกชน หรือ คลินิก ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ขึ้นอยู่กับ แต่ละโรงพยาบาล

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทาง อย. ได้เห็นถึงความสำคัญ ของการติดเชื้อเอชไอวี จึงได้ทำการ ปลดล็อคให้มี การจำหน่าย ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ตามร้านขายยา เพื่อให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงได้ง่าย และเพื่อเป็นทางออก ให้กับผู้ที่ ต้องการความเป็นส่วนตัว ในการตรวจด้วย โดย ชุดตรวจ HIV จะมีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน สามารถ ตรวจได้ด้วยตนเองที่บ้าน รู้ผลตรวจได้ใน 15-20 นาที 

แต่ทั้งนี้ การใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง เป็นเพียง การตรวจคัดกรอง เบื้องต้นเท่านั้น หากผลตรวจ ออกมาเป็นลบ แนะนำว่าควรตรวจซ้ำอีกครั้งที่ ระยะเวลาเสี่ยงนานขึ้น เพื่อรีเช็คผลตรวจ ว่าตรงกับ ครั้งแรก หรือไม่ แต่ถ้าในครั้งแรก ตรวจแล้ว เจอผลบวกเลย ก็แนะนำให้ ตรวจซ้ำด้วยตนเอง อีกครั้ง เช่นกัน หรือตัดสินใจ ไปตรวจยืนยันที่ สถานพยาบาล ทันที