instil-hiv

โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร

โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร

โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร โรคเอดส์ เป็นโรคติดต่อ ที่มีสาเหตุ มาจากการ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งหลาย ๆ คนมักจะ เข้าใจกันว่า โรคนี้ จะสามารถติดต่อ กันได้ง่าย จนทำให้ หลายคนมีความกังวล เมื่อต้องอยู่ ใกล้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ 

ดังนั้น เราจึง ควรทำความเข้าใจ ให้ถูกต้องว่า โรคเอดส์ นั้น สามารถติดต่อ ได้ผ่านทางใด ได้บ้าง เพื่อที่จะปฏิบัติ และสามารถอยู่ร่วม กับผู้ป่วยโรคเอดส์ ได้อย่างปลอดภัย

โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร โรคเอดส์เกิดจากการ ติดเชื้อไวรัส ที่มีชื่อว่า (Human Immunodeficiency Virus) ซึ่งเชื้อไวรัสนี้ จะอาศัยอยู่ ในสารคัดหลั่งต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น เลือด อสุจิ น้ำหล่อลื่น จากอวัยวะเพศชาย รวมไปถึงของเหลว ที่อยู่ในช่องคลอด และทวารหนัก โดยคนทั่วไป จะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้นั้น ก็ต่อเมื่อ สารคัดหลั่ง เหล่านี้ ไปสัมผัสกับผิวหนัง ที่มีบาดแผล หรือเยื่อเมือกภายในช่องปาก ช่องคลอด เป็นต้น

การติดต่อของโรคเอดส์

          1. การ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางช่องคลอด โดยที่ไม่ได้มีการป้องกัน จะมี โอกาสติดเชื้อ ได้ทั้งฝ่ายรุก และฝ่ายรับไม่แตกต่างกัน แต่การมีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางทวารหนักนั้น ทางฝ่ายรับ จะ มีความเสี่ยงมากกว่า ฝ่ายรับ ที่มีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางช่องคลอด

          2. การใช้เข็มฉีดยา ร่วมกับผู้ติดเชื้อ เพราะว่าเชื้อเอชไอวี ที่มากับเลือด และหลงเหลืออยู่ในเข็ม ฉีดยาที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว จะสามารถ อยู่ได้นานถึง 42 วัน ถ้าหากมีอุณหภูมิ ที่เหมาะสม

          3. การแพร่กระจาย จากแม่สู่ลูก ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ตั้งครรภ์ หรือ ระหว่างการคลอด รวมไปถึงการให้นมลูก ล้วนมีความเสี่ยงสูงทั้งสิ้น ถ้าหากว่าแม่ไม่ได้ รับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวี แนะนำให้คุณแม่ ทุกท่านตรวจเลือด หาเชื้อเอชไอวี ก่อนวางแผนมีลูกน้อย หากมีครรภ์แล้ว ก็สามารถ ปรึกษาคุณหมอ และอยู่ในความดูแลของคุณหมอ โดยที่คุณ ก็จะสามารถตั้งครรภ์ ได้อย่างปลอดภัยทั้งแม่ และลูก

          4. การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางปาก (oral sex) เป็นความเสี่ยง ที่สามารถเกิดขึ้น ได้น้อยมาก ๆ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากว่าฝ่ายชาย มีการหลั่งน้ำอสุจิที่อาจมีเชื้อปะปนมา เข้าไปภายในช่องปาก ของคู่นอน ขณะที่มีการทำ oral sex ซึ่งหากฝ่าย ที่ใช้ปากมีบาดแผลอยู่ภายในปาก ก็จะทำให้ได้รับความเสี่ยงนี้

          5. การจูบแบบเปิดปาก หากว่าทั้งสองฝ่าย มีบาดแผลภายในช่องปาก หรืออาจจะมีเลือดออกตามไรฟัน โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจทำให้อีกฝ่ายติดเชื้อได้ หากมีแผลหรือรอลถลอก ภายในช่องปากเช่นกัน ซึ่งก็ เป็นความเสี่ยง ที่น้อยมากๆ

           6. การปลูกถ่ายอวัยวะหรือการบริจาคเลือด อาจเป็นอีกหนึ่ง ความเสี่ยง ที่พบได้เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันจะมีการคัดกรองผู้บริจาคเลือดหรือผู้ที่บริจาคอวัยวะอย่างเข้มงวดมากขึ้น ก่อนที่จะนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย โดยได้มีการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวีทุกครั้งก่อนนำไปใช้

           7. การรับประทานอาหารที่ผ่านการเคี้ยวจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งในกรณีนี้มักจะพบได้ในทารกเท่านั้น ถึงแม้ความเสี่ยงนี้จะต่ำ แต่ก็ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงจะดีที่สุด

           8. การสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ เพราะเชื้อไวรัสเอชไอวี ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในสารคัดหลั่ง ซึ่งสามารถเข้าทางบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล หรือ เยื่อเมือกภายในช่องปาก

          9. การสักหรือการเจาะตามร่างกาย หากได้มีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาด โดยการใช้เข็มสักหรือมีการเจาะร่วมกัน ซึ่งรวมไปถึงการใช้หมึกในการสักร่วมกับผู้อื่น จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้

          10. การถูกกัด หรือเกาจากผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งจะต้องเป็นการกัดหรือเกาที่รุนแรงมาก ๆ จนทำให้เกิดบาดแผลฉีกขาดบนผิวหนังจนกระทั่งมีเลือดไหลออกมา

จากที่กล่าวมาข้างต้นก็อย่าพึ่งวิตกกังวลกันเกินไป เพียงแค่พึงระมัดระวังเสมอก็เพียงพอ อีกทั้งหากท่านใดรู้สึกว่าตนเองนั้นได้รับความเสี่ยงมา 

ขอแนะนำ ให้ท่านรีบไปตรวจเช็ค ให้รีบร้อยถ้าหากพบว่า ไม่ติดเชื้อท่านเอง ก็จะมีความสบายใจขึ้น แต่หากพบว่าติดเชื้อ ท่านจะได้เสี่ยงแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น 

หากมีความกังวล ที่จะต้องไปตรวจ ที่โรงพยาบาล หรือคลินิก ควรเลือกหา ชุดตรวจคัดกรองด้วยตนเอง ปลอดภัย แม่นยำ มาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาล มาตรวจ เพื่อความมั่นใจ เพื่อที่จะได้รับมือกับเชื้อ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ และเข้ารับการรักษาอย่างถูก วิธีเพื่อไม่ให้เชื้อ แพร่กระจาย ไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย