ที่ตรวจ hiv เป็นอย่างไร ใช้อะรในการทดสอบ การเตรียมตัวก่อนตรวจ HIV
เอชไอวี โรคร้ายที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ติดต่อผ่านทางเลือด ติดต่อจากการใช้เข็มฉีดยา ซึ่งหากได้รับเชื้อนี้มาโดยไม่รู้ตัว หรือได้รับเชื้อแต่ไม่เข้าสู่ระบบการรักษา เชื้อก็จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปเรื่อย ๆ ทำให้ป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย จนกระทั่งเข้าสู่โรคเอดส์ในหลายปีต่อมา ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง
หลาย ๆ คน ยังคงเข้าใจผิดว่าติดเชื้อเอชไอวี ติดเอดส์แล้วจะต้องตายเสมอไป หรือกลัวการทานยาต้านไวรัส เนื่องจากกลัวเอฟเฟคของยาที่จะทำให้ผิวคล้ำขึ้น สิวขึ้น โทรม
แต่ในปัจจุบันนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่ภาวะเอดส์และเสียชีวิตเสมอไป หากเข้าสู่การรักษาทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในทุกวัน ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป และยังมีอายุขัยที่ยาวนานดังเดิม นอกจากนี้การทานยาต้านไวรัสไม่ได้มีเอฟเฟคเหมือนเมื่อก่อนแล้ว จึงไม่ต้องกังวลอีกต่อไป
ที่ตรวจ hiv ที่เราจะอธิบายให้ ทุกท่านทราบนั้น เป็นที่ตรวจแบบ Rapid Test เป็นชุดตรวจอย่างง่าย รู้ผลรวดเร็ว ใช้ใน การตรวจคัดกรอง โดยส่วนใหญ่ จะอยู่ในรูปแบบ ของตลับสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีช่องสำหรับ หยดน้ำยา และหยดตัวอย่างที่ จะทดสอบ และมีช่องแสดงผล ที่ประกอบด้วย แถบ C (ส่วนควบคุม จะต้องขึ้นขีดสีแดงทุกครั้ง ที่ชุดตรวจ ถูกใช้งาน) และ T (ส่วนทดสอบ จะขึ้นขีดสีแดง ก็ต่อเมื่อมี การตรวจพบ สิ่งที่หา) นอกจากนี้ ยังมี อยู่ในรูปแบบของแผ่น ซึ่งมีวิธีการ ใช้งาน ที่คล้าย ๆ กันกับแบบตลับ หรือแตกต่าง กันไป ดังนั้น จึงควร ศึกษา คู่มือ การใช้งาน ของชุดตรวจนั้น ๆ อย่างละเอียด และ ทำความเข้าใจ ก่อนทดสอบ
ที่ตรวจHIV แบบ Rapid Test ตัวอย่างที่จะทดสอบ คืออะไร
ตัวอย่างที่ จะใช้ทดสอบนั้น ขึ้นอยู่กับ หลักการ ของชุดตรวจ ซึ่งทางผู้ผลิต ชุดตรวจ จะแสดงหรือ ระบุไว้อย่างชัดเจน เช่น ชุดตรวจนี้ กำหนดให้ ตรวจจากเลือด ชุดตรวจนี้ กำหนดว่า สามารถตรวจ ได้จากทั้ง เซรั่ม/พลาสมา/เลือด หรือชุดตรวจนี้ กำหนดว่าสามารถตรวจ จากน้ำในช่องปากได้ เป็นต้น ดังนั้น จึงควรศึกษา คู่มือการใช้งานให้เข้าใจก่อน
ที่ตรวจHIV แบบ Rapid Test เทคนิค วิธีการตรวจ ในปัจจุบัน ที่เป็นที่ นิยมมีอยู่ 2 แบบ คือ ตรวจหาแอนติบอดี ที่จำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV) กับตรวจหา ได้ทั้งแอนติบอดี (Anti-HIV) และ แอนติเจน (p24 antigen) ได้ในชุดตรวจเดียวกัน
ทบทวน ระยะเวลาเสี่ยง ของตนเอง ว่าได้รับ ความเสี่ยงมาแล้ว กี่วัน ควรจะเสี่ยง มาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ การตรวจเอชไอวีนั้น ไม่จำเป็น ต้องงดข้าว หรือน้ำ สามารถทานได้ปกติ เพียงแค่ เตรียมใจ ให้พร้อม
ตรวจ HIV ที่สถานพยาบาล
1. บัตรประชาชนติด
2. รับคำปรึกษาจากแพทย์
3. เจาะเลือด
4. ฟังผล (ช้าเร็วขึ้นกับวิธีตรวจ) – ผลลบ: ไม่พบเชื้อ อาจมีการนัดมาตรวจซ้ำอีกครั้ง – ผลบวก: พบเชื้อ เข้าสู่กระบวนการให้คำแนะนำและรักษา
ท่านใด ที่ไม่กล้า หรือไม่มีเวลาว่าง ที่จะไปตรวจ ที่สถานพยาบาล และอยากทราบว่า ตนเอง มีความเสี่ยงติดเชื้อจริง หรือไม่ สามารถหา ซื้อชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง มาตรวจคัดกรองเองก่อนได้ ซึ่งจะมี ความเป็นส่วนตัวมากกว่า สามารถ ตรวจได้เอง ที่บ้าน โดยที่รู้ผลได้ภายใน 10-20 นาที หากผลออกมาเป็นลบ = ไม่พบเชื้อ ให้ทำการตรวจซ้ำ อีกครั้ง ที่ระยะ เวลาเสี่ยง 3 เดือน หากผลออกมา เป็นบวก = พบเชื้อ ให้เดินทาง ไปตรวจที่สถานพยาบาลโดยเร็วที่สุด เข้าสู่กระบวนการ ให้คำแนะนำ และรักษา
อย่างไรก็ตาม หากรู้ตัวว่า ได้รับ ความเสี่ยง การตรวจ ให้ทราบผล จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ช่วยลดโอกาส ในการแพร่เชื้อ และช่วยให้ ผู้ป่วยรู้ตัวเร็ว เข้าสู่การรักษา ได้ทันเวลา