instil-hiv

ตรวจ NAT คืออะไร

ตรวจ NAT

ตรวจ NAT คืออะไร ตรวจเอชไอวี ต้องคำนึงถึง window period หรือไม่ Window Period เป็นช่วงเวลา ที่ร่างกายได้รับเชื้อ มาแล้ว แต่ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ยังขึ้นไม่ถึงระดับ ที่จะสามารถตรวจพบได้ ซึ่งแอนติบอดี ที่มีต่อเชื้อไวรัส ในช่วงนี้มักจะใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ – 3 เดือน 

ในช่วงเวลานี้ เราจะสามารถตรวจพบเชื้อได้ ในส่วนใหญ่ และส่วนน้อยที่ต้องอาศัย การตรวจซ้ำหลังจาก 3 เดือน ดังนั้น เราจึงควรคำนวณถึง window period ไม่ควรรีบร้อนตรวจ รอเวลาให้ร่างกาย จะมีแอนติบอดีของเชื้อเอชไอวี ที่เพียงพอจึง จะสามารถตรวจพบเชื้อได้

การตรวจเอชไอวีนั้น มีหลายวิธีในปัจจุบัน โดยเหมาะจะตรวจแบบไหน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเสี่ยง และวิธี ที่สามารถตรวจได้เร็วที่สุด หลังจาก เสี่ยงมาเพียง 7-10 วัน คือ การตรวจ NAT ย่อมาจาก Nucleic Acid amplification Testing เป็นวิธีการตรวจ หาเชื้อเอชไอวี โดยตรงจาก RNA ของเชื้อ 

โดยใช้ การตรวจหาเชื้อ และมีผลที่น่าเชื่อถือได้ แตกต่างจากการ ตรวจเอชไอวีทั่ว ๆ ไป จะสามารถตรวจพบเชื้อ ได้หลังจากที่ ได้รับเชื้อมาแล้ว 3-4 สัปดาห์

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี โดยทั่วไปโรงพยาบาล หรือคลินิกต่าง ๆ จะเป็นการตรวจ ที่ตรวจหาภูมิคุ้มกัน หากผลที่ตรวจคัดกรอง ให้ผลว่ามีการติดเชื้อ จึงต้องทำการตรวจ ด้วยวิธีอื่นอีก 2 วิธีเพื่อยืนยันผล การตรวจที่แน่ชัด เพราะทุกวิธี การตรวจจะให้ได้ผล ที่สอดคล้องกันเสมอ 

หากผลตรวจ ทั้งสามวิธีไม่มีการสอดคล้องกัน จึงต้องมีการนัด มาตรวจซ้ำอีกครั้ง 2-4 สัปดาห์ถัดไป

การตรวจ NAT จึงเป็นวิธี ที่ช่วยลดระยะเวลา Window Period เพราะเป็นการตรวจสอบโดยตรงที่ยีนของเชื้อไวรัส โดยการตรวจจับยีน ของเชื้อไวรัสแทนที่ จะต้องรอ ให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้นมา 

จึงอาจพูดได้ว่า การนำ NAT มาใช้ในการตรวจเอชไอวี สามารถทำให้รอตรวจ ได้ไวขึ้น โดยไม่ต้องรอถึง 3-4 สัปดาห์ ทำระยะ Window Period สั้นลง แต่เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายในการ ตรวจ NAT ยังมีราคาสูงมาก จึงไม่เป็นที่นิยม มาใช้ในการตรวจ

อย่างไรก็ตาม หลายคนคงอยากรู้ ผลเลือดเร็ว จึงเลือกตรวจด้วยวิธี NAT ซึ่งแท้จริงแล้ว ก็ยังไม่ได้มีความไวร้อยละ 100 และสามารถ ให้ผลลบปลอมได้ ในช่วง 5-10 วัน 

สาเหตุ ของการเกิดผลลบปลอมในวิธีแนท นั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การกดการแบ่งตัวของไวรัส ตามธรรมชาติของร่างกายผู้ติดเชื้อ หรือจากการรักษา พบว่าเป็นสาเหตุหลัก ของการเกิดผลลบปลอมของวิธี NAT การเก็บตัวอย่างส่งตรวจไม่เหมาะสม การแยกตัวอย่างไม่เหมาะสม การเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่ เหมาะสม การมีสารยับยั้งในตัวอย่างตรวจ การตรวจ NAT สามารถให้ผลบวกปลอมที่มีค่าต่ำๆ ได้เมื่อค่าระดับปริมาณไวรัสใกล้กับค่าจํากัด ของการตรวจวัด (LoD) ในทางกลับกันถ้าระดับปริมาณไวรัสมีค่าต่ำในช่วงที่ทําการตรวจ วิธี NAT ก็อาจให้ผล ลบได้เช่นกัน ดังนั้น การตรวจซ้ำอีกครั้งจึงสามารถช่วยให้เรามั่นใจขึ้นได้

การป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งโดยที่ไม่ต้องมานั่งคิด หรือเป็นกังวลว่าตนเองจะติดเชื้อหรือไม่ นั้นเป็นวิธีที่สุด เพราะว่ามันคงไม่คุ้มแน่ๆ หากคุณติดเชื้อเอชไอวีมาแต่ไม่รู้ตัว แม้กระทั่งการตรวจด้วย NAT ซึ่งก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน 

แต่ก็มีโอกาสตรวจพบน้อยมาก และที่น่ากลัวที่สุดคือ หากมีกรณีที่เป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่แล้วพึ่งไปเสี่ยงมาแล้วมาบริจาคเลือด ทำให้มีโอกาสที่จะตรวจไม่พบเชื้อ และเมื่อเลือดของกลุ่มเสี่ยงถูกส่งต่อไปถึงผู้รับบริจาค โอกาสในการส่งต่อเชื้อไปยังผู้อื่นจะยิ่งสูงขึ้น

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงและไม่สะดวกจะเดินทางไปตรวจที่สถานพยาบาล สามารถทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเองด้วยชุดตรวจที่มีความปลอดภัย แม่นยำ มาตรฐานเดียวกันกับโรงพยาบาลได้ 

โดยซื้อมาตรวจเพื่อคลายความกังวลใจ เพราะหากรู้ว่าตนเองนั้นมีเชื้อเอชไอวีอยู่ภายในร่างกาย ก็จะได้เตรียมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น และเข้ารับการักษา รับยาต้านได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง พร้อมรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด 

ทั้งนี้การตรวจด้วยชุดตรวจที่คัดกรองด้วยตนเองเป็นเพียงการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากผลตรวจออกมาเป็นบวกหรือลบ ก็อย่าพึ่งวางใจ แต่ให้ทำการตรวจซ้ำอีก 3 เดือนหลังจากตรวจครั้งแรก